เมนู

ภิกษุ ทรงบำรุงสงฆ์โดยความเคารพ ในกาลนั้น
บุรุษผู้ถูกเสียบหลาว หายโรค เป็นสุขสบายดี
ได้เข้าถึงบรรพชา แม้ชนทั้งสองอาศัยกัปปิตก-
ภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุสามัญผล การคบหา
สัปบุรุษเช่นนี้ย่อมมีผลมากตั้งร้อย แก่วิญญูชน
ผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบหลาวได้บรรลุผลอัน
ยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้าอัมพสักขระได้บรรลุ
โสดาปัตติผล.

จบ อัมพสักขรเปตวัตถุที่ 1

มหาวรรคที่ 4



อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ 1



เรื่องอัมพสักขรเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เวสาลี นาม นครตฺถิ
วชฺชีนํ
ดังนี้. เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า อัมพสักขระ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาทะ ครองราชย์ในเมืองเวสาลี.
ก็สมัยนั้น ในพระนครเวสาลี มีเปือกตมอยู่ในที่ใกล้ร้าน
ตลาดของพ่อค้าคนหนึ่ง. ชนเป็นอันมากในที่นั้น โดดข้ามไปลำบาก
บางคนเปื้อนโคลน. พ่อค้านั้นเห็นดังนั้น จึงคิดว่า คนเหล่านี้อย่า

เหยียบเปือกตม จึงให้นำกระดูกศีรษะโคอันมีส่วนเปรียบด้วย
สีสังข์ปราศจากกลิ่นเหม็น มาวางทอดไว้. ก็ตามปกติ เขาเป็นคน
มีศีลไม่มักโกรธ มีวาจาอ่อนหวาน และระบุถึงคุณตามความเป็น
จริงของคนเหล่าอื่น.
วันนั้น เมื่อสหายของตนอาบน้ำ ไม่แลดูด้วยความเลินเล่อ
เขาจึงซ่อนผ้านุ่งไว้ด้วยความประสงค์จะล้อเล่น ทำให้เขาลำบาก
เสียก่อนจึงได้ให้ไป. ก็หลานของเขาขโมยภัณฑะมาจากเรือน
ของคนอื่น แล้วทิ้งไว้ที่ร้านของเขานั่นเอง. เจ้าของภัณฑะเมื่อ
ตรวจดู จึงแสดงหลานของเขาและตัวเขาพร้อมทั้งภัณฑะแก่พระราชา.
พระราชาสั่งบังคับว่า พวกท่านจงตัดศีรษะผู้นี้ ส่วนหลานของเขา
จงเสียบหลาวไว้. พวกราชบุรุษได้กระทำดังนั้น. เขาทำกาละ
แล้วเกิดในภุมเทพ ได้เฉพาะม้าอาชาไนยทิพ มีสีขาว มีความเร็ว
ทันใจ เพราะเอาศีรษะโคทำสะพาน และเพราะการกล่าวสรรเสริญ
คุณของผู้มีคุณ กลิ่นทิพจึงฟุ้งออกจากกายของเขา แต่เขาได้เป็น
ผู้เปลือยกาย เพราะเก็บผ้าสาฎกซ่อนไว้ เขาตรวจดูกรรมที่ตน
ทำไว้ในกาลก่อน เห็นหลานของตนถูกเสียบหลาวโดยทำนองนั้น
ถูกความกรุณากระตุ้นเตือน จึงขึ้นม้ามีฝีเท้าเร็วทันใจ ในเวลา
เที่ยงคืน ก็ถึงสถานที่ที่หลานนั้นถูกเสียบไว้บนหลาว จึงยืนอยู่
ในที่ไม่ไกล กล่าวทุกวัน ๆ ว่า จงมีชีวิตอยู่เถอะ พ่อเจริญ ชีวิต
เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

ก็สมัยนั้น พระเจ้าอัมพสักขระเสด็จบนคอช้างเชือกประเสริฐ
เสด็จเลียบพระนคร ทรงเห็นหญิงคนหนึ่งเปิดหน้าต่างในเรือน
หลังหนึ่งผู้กำลังดูสมบัติของพระราชา ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ จึงให้
สัญญาแก่บุรุษผู้นั่งอยู่หลังอาสนะว่า ท่านจงใคร่ครวญเรือนนี้และ
หญิงนี้ ดังนี้แล้วเสด็จเข้าพระนิเวศน์ของพระองค์โดยลำดับ ส่ง
บุรุษนั้นไป โดยให้รู้ว่า ไปเถอะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนั้นมีสามี
หรือไม่. เขาไป รู้ว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว จึงกราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาเมื่อทรงคิดถึงอุบายที่จะครอบครองหญิงนั้น จึงรับสั่งให้
เรียกสามีของนางมา แล้วตรัสว่า มาเถอะ พนาย เธอจงอุปัฏฐากเรา.
เขาแม้จะไม่ปรารถนาก็รับอุปัฏฐากพระราชา เพราะกลัวว่า
เมื่อเราไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ พระราชาก็จะลง
ราชทัณฑ์ จึงไปอุปัฏฐากพระราชาทุกวัน ๆ. ฝ่ายพระราชา
ก็ได้ประทานบำเหน็จรางวัลแก่เธอ โดยล่วงไป 2-3 วัน ก็ได้
ตรัสกะเธอผู้มายังที่บำรุงแต่เช้าตรู่ อย่างนี้ว่า ไปเถอะ พนาย
ในที่โน้น มีสระโบกขรณีลูกหนึ่ง เธอจงนำดินสีอรุณ และดอก
อุบลแดง จากพระโบกขรณีนั้นมา ถ้าเธอไม่มาภายในวันนี้ ชีวิต
ของเธอจะหาไม่. ก็เมื่อเขาไปแล้ว จึงตรัสกะคนผู้รักษาประตูว่า
วันนี้ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัศดงคต เธอจงปิดประตูทุกด้าน.
ก็สระโบกขรณีนั้นอยู่ในที่สุด 300 โยชน์ แต่กรุงเวสาลี
อนึ่ง บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม จึงถึงสระโบกขรณีนั้นแต่เช้า
ทีเดียว เพราะกำลังเร็วของลม เพราะได้สดับตรับฟังมาก่อนว่า

สระโบกขรณีนั้น อมนุษย์หวงแหน เพราะความกลัว เขาจึงเดิน
เวียนไปรอบ ๆ ด้วยคิดว่า ในที่นี้ จะมีอันตรายอะไร ๆ หรือไม่หนอ.
อมนุษย์ผู้รักษาสระโบกขรณีเห็นเขาแล้ว เกิดความกรุณา แปลง
เป็นมนุษย์เข้าไปหาแล้วกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านมาที่นี้เพื่อ
ประโยชน์อะไร เขาก็ได้เล่าเรื่องนั้นให้อมนุษย์นั้นฟัง. อมนุษย์นั้น
จึงกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงถือเอาตามต้องการเถิด
ดังนี้แล้วจึงแสดงรูปทิพของตนแล้วหายไป.
เขาถือเอาดินสีอรุณและดอกอุบลแดงในสระโบกขรณีนั้น
ถึงประตูพระนครในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคตเลย. ผู้รักษา
ประตูเห็นเขาแล้ว เมื่อเขาร้องบอกอยู่นั่นแหละ ก็ปิดประตูเสีย.
เมื่อประตูถูกปิด เขาเข้าไปไม่ได้ เห็นบุรุษอยู่บนหลาวใกล้ประตู
จึงได้กระทำให้เป็นสักขีพยานว่า คนเหล่านี้ เมื่อเรามาถึงในเมื่อ
พระอาทิตย์ยังไม่อัศดงคต ร้องขออยู่นั้นเอง ก็ปิดประตูเสีย ถึง
ท่านก็จงรู้เถิดว่า เรามาทันเวลา เราไม่มีโทษ. บุรุษผู้อยู่บนหลาว
ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า เราถูกร้อยหลาว เขาจะฆ่า บ่ายหน้าไปหา
ความตาย จะเป็นพยานให้ท่านได้อย่างไร. ก็ในที่นี้ เปรตตนหนึ่ง
มีฤทธิ์มากจักมาที่ใกล้เรา ท่านจงทำเปรตนั้นเป็นพยานเถิด. บุรุษ
นั้นถามว่า เราจะเห็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนนั้นได้อย่างไร. บุรุษ
ผู้อยู่บนหลาวกล่าวว่า ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ ท่านจักเห็นด้วย
ตนเอง. เขายืนอยู่ในที่นั้น เห็นเปรตนั้นมาในมัชฌิมยาม จึงได้
ทำให้เป็นพยาน. ก็เมื่อราตรีสว่าง เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่าน

ล่วงอาญาของเรา เพราะฉะนั้น เราจะลงราชทัณฑ์แก่ท่าน บุรุษ
นั้นจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้ล่วงอาชญาของ
พระองค์ ข้าพระองค์มาในที่นี้ ในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต
เลย พระราชาตรัสถามว่า ในข้อนั้น ใครเป็นพยานให้เธอ. บุรุษ
นั้น จึงอ้างถึงเปรตเปลือย ผู้มายังสำนักของบุรุษผู้ถูกหลาวร้อย
นั้นว่า เป็นพยาน เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ข้อนั้นเราจะเชื่อได้
อย่างไร จึงทูลว่า วันนี้ ในเวลาราตรี พระองค์จงส่งบุรุษผู้ควร
เธอได้ไปกับข้าพระองค์. พระราชาได้สดับดังนั้น จึงเสด็จไปใน
ที่นั้นพร้อมกับบุรุษนั้นด้วยพระองค์เอง แล้วประทับยืนอยู่ และ
เมื่อเปรตมาในที่นั้นกล่าวว่า จงเป็นอยู่เถิด ผู้เจริญ ชีวิตเท่านั้น
ประเสริฐกว่า จึงทรงสอบถามเปรตนั้นด้วยคาถา 5 คาถา โดยนัย
มีอาทิว่า การนอน การนั่ง ไม่มีแก่ผู้นี้ ดังนี้. ก็ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เพื่อจะแสดงความสัมพันธ์แห่งคาถาเหล่านั้น พระสังคีติกาจารย์
จึงได้ตั้งคาถาว่า เวสาลิ นาม นครตฺถิ วชฺชีนํ ความว่า :-
มีนครชาววัชชีนครหนึ่ง นานว่าเวสาลี
ในนครเวสาลีนั้น มีกษัตริย์ลิจฉวีพระนานว่า
อัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง
ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบ
เหตุ จึงตรัสถามเปรตนั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การ
นอน การนั่ง การเดินไปเดินมา การลิ้ม การดื่ม
การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของคนผู้ถูก

เสียบไว้บนหลาวนี้ ย่อมไม่มีชนเหล่าใดผู้เป็น
ญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเห็นเคยฟังร่วมกันมา
เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใดมีอยู่ในกาล
ก่อน เดี๋ยวนี้คนเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมเยียนบุคคล
นั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติเป็นต้นสละแล้ว
มิตรสหาย ย่อมไม่มีแก่คนผู้ตกยาก พวกมิตร-
สหายทราบว่า ผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น
และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ก็พากันไปห้อมล้อม
คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติ ย่อมมีมิตรสหายมาก ส่วน
บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคือง
ด้วยโภคะ ย่อมหามิตรสหายยาก นี้เป็นธรรมดา
ของโลก บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกายเปื้อน
เลือด ตัวทะลุเป็นช่อง ๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับ
ไปในวันนี้ พรุ่งนี้ เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่
บนปลายหญ้าคา ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะ
เหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่าง
ยิ่ง นอนหงายบนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูก่อน
บุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิต
อยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเมืองเวสาลีนั้น.
บทว่า นครสฺส พาหิรํ ได้แก่ มีอยู่ในภายนอกพระนคร คือ เกิด

เป็นไป เกี่ยวพันกันในภายนอกแห่งนครเวสาลีนั่นเอง. บทว่า
ตตฺเถว คือ ในที่ที่ตนเห็นเปรตนั้นนั่นแล บทว่า ตํ โยค ตํ เปตํ
แปลว่า ซึ่งเปรตนั้น. บทว่า การณตฺถิโก ได้แก่ เป็นผู้มีความต้องการ
ด้วยเหตุเพื่อผลดังกล่าวว่า จงมีชีวิตอยู่เถิด ท่านผู้เจริญ การมี
ชีวิตอยู่นั่นแหละ ประเสริฐ.
บทว่า เสยฺยา นิสชฺชา นยิมสฺส อตฺถิ ความว่า การนอนมี
การเหยียดหลังเป็นลักษณะ และการนั่งมีการนั่งคู้บัลลังก์เป็น
ลักษณะ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ถูกหลาวเสียบนี้ได้. บทว่า อภิกฺกโม
นตฺถิ ปฏิกฺกโม จ
ความว่า การไปมีการก้าวไปข้างหน้า แม้เพียง
เล็กน้อย ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้. บทว่า ปริจาริกา สาปิ ความว่า แม้หญิง
ผู้บำรุงบำเรออินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเช่น การกิน การดื่ม การเคี้ยว
การนุ่งผ้า และการใช้สอย เป็นต้น แม้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปริหรณา สาปิ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า แม้
หญิงผู้บริหารอินทรีย์ด้วยสามารถแห่งการบริโภคมีของกิน เป็นต้น
ก็ไม่มีแก่ผู้นี้ เพราะเป็นผู้ปราศจากชีวิต, อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ปริจารณา สาปิ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ทิฏฺฐสุตา สุหชฺชา อนุกมฺปกา ยสฺส อเหสุํ ปุพฺเพ
ความว่า ผู้ที่มีคนเป็นสหายเคยเห็นกันมา และไม่เคยเห็นกันมา
เป็นมิตร มีความเอ็นดู ได้มีในกาลก่อน. บทว่า ทฏฺฐุมฺปิ ความว่า
บุคคลเหล่านั้น แม้จะเยี่ยมก็ไม่ได้ คือ การอยู่ร่วมกัน จักมีแต่ที่ไหน.

บทว่า วิราชิตตฺโต ได้แก่ ผู้มีสภาวะ อันญาติเป็นต้นสละแล้ว.
บทว่า ชเนน เตน ได้แก่ อันชนมีชนผู้เป็นญาติเป็นต้นนั้น.
บทว่า น โอคฺคตตฺตสฺส ภวนฺติ มิตฺตา ความว่า ขึ้นชื่อว่า
มิตร ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจากวิญญาณไปแล้ว คือผู้ตายไปแล้ว
เพราะผู้นั้นผ่านพ้นจากกิจที่มิตรจะพึงกระทำต่อมิตร. บทว่า
ชหนฺติ มิตฺตา วิกลํ วิทิตฺวา ความว่า ผู้ที่ตายแล้ว จงยกไว้ก่อน.
พวกมิตร พอทราบบุรุษแม้ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขาดแคลนโภคสมบัติ
ก็ละทิ้งเขาเสียด้วยคิดว่า สิ่งอะไร ๆ ที่ควรถือเอาได้จากบุรุษนี้
ย่อมไม่มีเลย. บทว่า อตฺถญฺจ ทิสฺวา ปริวารยนฺติ ความว่า เห็น
ทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ซึ่งเป็นของของผู้นั้นแล้ว กล่าววาจาน่ารัก
เห็นแก่หน้า พากันแวดล้อมผู้มั่งคั่งด้วยโภคสมบัตินั้น. บทว่า
พหุ มิตฺตา อุคฺคตตฺตสฺส โหนฺติ ความว่า บุคคลผู้มีความสำเร็จ
มีสภาพมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ ย่อมมีมิตรมากมายนี้ เป็นสภาพ
ทางโลก.
บทว่า นิหีนตฺโต สพฺพโภเคหิ ได้แก่ บุคคลผู้มีตนเสื่อม
จากวัตถุอันเป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคทั้งหมด. บทว่า กิจฺโฉ
ได้แก่ เป็นผู้ตกทุกข์. บทว่า สมฺมกฺขิโต ได้แก่ ผู้มีร่างกาย
เปื้อนด้วยเลือด. บทว่า สมฺปริภินฺนคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวถูกหลาวเสียบ
ในภายใน. บทว่า อุสฺสาวพินฺทูว ปลิมฺปมาโน ได้แก่ เสมือน
หยาดน้ำค้างที่ติดอยู่บนปลายหญ้า. บทว่า อชฺช สุเว ความว่า

ชีวิตของบุรุษนี้จักดับศูนย์ในวันนี้ หรือ ในวันพรุ่งนี้ ต่อแต่นั้นไป
ก็เป็นไปไม่ได้.
บทว่า อุตฺตาสิตํํ ได้แก่ ถูกหลาวร้อย คือ เสียบไว้. บทว่า
ปุจิมนฺทสฺส สูเล ได้แก่ บนหลาวที่เขาทำด้วยท่อนไม้สะเดา.
บทว่า เกน วณฺเณน แปลว่า ด้วยเหตุไร. บทว่า ชีว โภ ชีวิตเมว
เสยฺโย
ความว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะท่านถูกหลาวเสียบ ยังมีชีวิตอยู่ในที่นี้
ก็ยังประเสริฐกว่า คือดีกว่าชีวิตของบุคคลผู้จุติจากโลกนี้ ตั้งร้อยเท่า
พันเท่า.
เปรตนั้นถูกพระราชานั้นตรัสถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะประกาศ
ความประสงค์ของตน จึงกล่าวคาถา 4 คาถาว่า :-
ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้ เป็นสาโลหิตของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึงชาติก่อน ข้า-
พระองค์เห็นแล้ว มีความกรุณาแก่เขาว่า ขออย่า
ให้บุรุษผู้เลวทรามนี้ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์
ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้แล้ว
จักเข้าถึงนรก อันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป
เป็นสถานที่ร้ายกาจ มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อน
ให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่านรก
นั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรก
อันมีแต่ความทุกข์โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้

เกิดความน่ากลัว มีความทุกข์กล้าแข็งอย่างเดียว
บุรุษนี้ ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่ง
ว่า ข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะ
พึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์
จึงไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษ
นี้อย่าได้ดับไปเสีย เพราะคำของข้าพระองค์เลย
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูว่า ขอท่านจงมี
ชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาโลหิโต ได้แก่ มีโลหิตเสมอกัน
คือ เชื่อมกันโดยกำเนิด, อธิบายว่า เป็นญาติกัน. บทว่า ปุริมาย
ชาติยา
คือในอัตภาพก่อน. บทว่า มา ปาปธมฺโม นิรยํ ปตายํ
มีวาจาประกอบความว่า ข้าพระองค์ได้เห็นผู้นี้แล้ว ได้มีความ
กรุณาว่า ขออย่าให้บุรุษผู้มีธรรมอันเลวทรามนี้ ตกนรกเลย คือ
อย่าได้เข้าถึงนรกเลย.
บทว่า สตฺตุสฺสทํ ความว่า หนาแน่นด้วยสัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว
อีกอย่างหนึ่ง หนาแน่นด้วยเหตุอันหยาบช้า มีการจองจำ 5 อย่าง
เป็นต้น 7 อย่าง เหล่านี้คือ การจองจำ 5 อย่าง คือ เทโลหะร้อน ๆ
เข้าไปในปาก ให้ขึ้นภูเขาอันเต็มด้วยถ่านเพลิง ใส่เข้าในหม้อเหล็ก
ให้เข้าไปยังป่าอันพร้อมด้วยดาบ ให้ลงไปในชลาลัยในนรก โยนทิ้ง
ลงไปในมหานรก. อธิบายว่า ก่อสั่งสมจนมาก ๆ ขึ้นไป. บทว่า
มหาภิตาปํ ได้แก่ ทุกข์ใหญ่ หรือความเร่าร้อนอันเกิดแต่กองไฟ

ใหญ่. บทว่า กฏุกํ แปลว่า ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ภยานกํ แปลว่า
ให้เกิดความกลัว.
บทว่า อเนกภาเตน คุเณน ได้แก่ ด้วยอานิสงส์ หลายส่วน.
บทว่า อยเมว สูโล นิรเยน เตน ความว่า หลาวนี้แหละ ประเสริฐ
กว่านรก อันเป็นที่เกิดของบุรุษนี้นั้น. จริงอยู่ บทว่า นิรเยน
นี้ เป็นตติยาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัติ. บทว่า เอกนฺตติพฺพํ
ความว่า มีความทุกข์อันแรงกล้าโดยส่วนเดียวแท้ คือ เป็นทุกข์ใหญ่
อย่างแน่นอน.
บทว่า อินญฺจ สุตฺวา วจนํ มเมโส ความว่า บุรุษนี้ ฟังถ้อยคำ
ของเรานี้ ที่กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า อิโต จุโต เคลื่อนจากอัตภาพนี้
แล้ว เป็นต้น เป็นผู้เข้าถึงทุกข์ เป็นเหมือนเข้าถึงทุกข์ในนรก ตาม
คำของเรา บทว่า วิชเหยฺย ปาณํ ความว่า พึงสละชีวิตของตน.
บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. บทว่า มา เม กโต อธิบายว่า
เราไม่ได้พูดคำนี้ ในที่ใกล้แห่งบุรุษนี้ว่า ขอชีวิตของบุรุษนี้ จง
อย่าดับพร้อมกับเราเลย. โดยที่แท้ เราพูดเพียงเท่านี้ว่า จงมีชีวิต
อยู่เถอะท่านผู้เจริญ เพราะชีวิดนั่นแหละ ประเสริฐ.
เมื่อเปรตประกาศความประสงค์ของตนอย่างนี้ พระราชา
เมื่อทรงให้โอกาสเพื่อจะถามประวัติของเปรตนั้นอีก จึงตรัสคาถา
นี้ว่า :-
เรื่องของบุรุษนี้ เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนา
จะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา

เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-
ข้าพระองค์ ได้ให้ปฏิญญาไว้ในกาลนั้น
แน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่ผู้ไม่เลื่อมใส
บัดนี้ ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดย
พระองค์จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอ
เชิญพระองค์ ตรัสถามข้าพระองค์ ตามพระ
ประสงค์เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่
สามารถจะกราบทูลได้.

นี้เป็นพระคาถาตรัสและคาถาโต้ตอบระหว่างพระราชากับเปรต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญโต แปลว่า อันข้าพเจ้า
รู้แล้ว. บทว่า อิจฺฉามเส แปลว่า ข้าพระองค์ ย่อมปรารถนา.
บทว่า โน แปลว่า แก่พวกเรา. บทว่า น จ กุชฺฌิตพฺพํ ความว่า
ไม่ควรทำความโกรธว่า คนเหล่านี้ ได้ถามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
บทว่า อทฺธา แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า ปฏิญฺญา เม
ความว่า เมื่อว่าโดยความรู้ เราได้ปฏิญญา คือให้โอกาสว่า ท่าน
จงถาม. บทว่า ตทา อหุ คือ ได้มีในกาลนั้น คือในการเห็นครั้งแรก.
บทว่า นาจิกฺขณา อปฺปสนฺนสฺส โหติ ความว่า ไม่ได้พูดแก่ผู้ที่
ไม่เลื่อมใส. จริงอยู่ ผู้เลื่อมใสเท่านั้นย่อมกล่าวอะไร ๆ แก่ผู้
เลื่อมใส แต่ในเวลานั้น ท่านไม่มีความเลื่อมใสในเรา และเราก็ไม่มี
ความเลื่อมใสในท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่มีความปรารถนา.

ที่จะกล่าวปฏิญญา. แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาท่าน มีวาจา
ที่จะให้ท่านพอเชื่อถือได้ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ชื่อว่า
มีวาจาพอเชื่อถือได้. บทว่า ปุจฺฉสฺสุ มํ กามํ ยถา วิสยฺหํ ความว่า
ขอพระองค์จงซักถามเรื่องตามที่พระองค์ทรงปรารถนากะข้า-
พระองค์เถิด. แต่ข้าพระองค์จักกราบทูลตามสมควรแก่กำลัง
ความรู้ของตน โดยประการที่ข้าพระองค์สามารถจะกราบทูลได้.
เมื่อเปรตให้โอกาสแก่การถามอย่างนี้ พระราชา จึงตรัส
คาถาว่า :-
เราเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควร
เชื่อสิ่งนั้น แม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เชื่อ
ขอให้ลงโทษ ถอดยศเราเถิด.

คำแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เราเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ด้วยจักษุ เราควรเชื่อสิ่งนั้นแม้ทั้งหมด โดยประการนั้นนั่นแล
ก็แลถ้าเราเห็นสิ่งนั้นแล้ว ไม่เชื่อ ดูก่อนเทพยดา ขอท่านจงลง
นิยสกรรม และนิคคหกรรมแก่เราเถิด. อีกอย่างหนึ่งบทว่า
ยํ กิญฺจหํ จกฺขุนา ปสฺสิสฺสามิ ความว่า เราจักเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ด้วยจักษุ เพราะไม่เป็นอารมณ์แห่งจักษุจึงไม่เห็น. บทว่า สนฺพมฺปิ
ตาหํ อภิสทฺทเหยฺยํ
ความว่า เราควรเชื่อสิ่งที่ท่านได้เห็น ได้ยิน
หรือสิ่งอื่น. อธิบายว่า จริงอยู่ เรามีความเชื่อเช่นนั้น ในท่าน.
ส่วนเนื้อความแห่บทหลัง ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

เปรตได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาว่า :-
ขอสัจจปฏิญญา ของพระองค์นี้ จงมีแก่ข้า-
พระองค์ พระองค์ได้ฟังธรรมที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว
จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มีความต้องการ
อย่างอื่น ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายข้าพระองค์ จัก
กราบทูลธรรมทั้งหมดที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว
บ้าง หรือไม่ได้สดับแล้วบ้าง แก่พระองค์ตามที่
ข้าพระองค์รู้.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระราชาและเปรตทั้งสองนั้น จึงมีคาถา
เป็นเครื่องตรัสโต้ตอบกันดังนี้ว่า :-
พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า :-
ท่านขี่ม้าอันประดับประดาแล้วเข้าไปยัง
สำนักของบุรุษที่ถูกเสียบหลาว ม้าขาวตัวนี้เป็น
ม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชมนี้ เป็นผลแห่งกรรม
อะไร

เปรตกราบทูลว่า :-
ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทาง
ลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส เอาศีรษะโค ศีรษะ
หนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์
และบุคคลอื่น เหยียบบนศีรษะโคนั้น เดินไป

ได้สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชม
นี้เป็นผลแห่งกรรมนั่นเอง

พระเจ้าสักขระตรัสถามว่า :-
ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมี
กลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์แห่งเทวดา เป็น
ผู้มีอานุภาพมาก แต่เป็นคนเปลือยกาย นี้เป็นผล
แห่งกรรมอะไร.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ
ทั้งมีจิตเลื่อมใสอยู่เป็นนิตย์ พูดกับคนทั้งหลาย
ด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีเป็นทิพย์
สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น
ข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียงของบุคคลผู้ตั้งอยู่
ในธรรม มีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระ-
องค์มีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผล
แห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์
อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บน
บก ไม่มีความประสงค์จะลักขโมย และไม่มีจิต
คิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ จึง
เป็นคนเปลือยกาย เป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.

พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า :-
ผู้ใดทำบาปเล่น ๆ นักปราชญ์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจ
ทำบาปจริง ๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรม.
ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างไร ?

เปรตกราบทูลว่า :-
มนุษย์เหล่าใด มีความดำริชั่วร้าย เป็น
ผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เพราะกายแตก
ตายไป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรกใน
สัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าอื่น
ปรารถนาสุคติ ยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอัน
สงเคราะห์แล้ว เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้า
ถึงสุคติในสัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจปฺปฏิญฺญา ตว เมสา โหตุ
ความว่า ขอความปฏิญญาของท่านนี้ จงเป็นความสัจจสำหรับ
ข้าพระองค์ว่า ข้าพเจ้าพึงเชื่อสิ่งนั้นทั้งหมด. บทว่า สุตฺวาน
ธญฺมํ ลภ สุปฺปสาทํ
ความว่า ท่านฟังคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว จง
ได้ความเลื่อมใส เป็นอันดี. บทว่า อญฺญตฺถิโก ได้แก่ ข้าพระองค์
ไม่มีความประสงค์จะรู้. บทว่า ยถา ปชานํ ได้แก่ ตามที่คนอื่นรู้อยู่
อธิบายว่า ตามที่พระองค์รู้แล้วหรือว่า ตามที่ข้าพระองค์รู้แล้ว.

บทว่า กิสฺเสตํ กมฺมสฺส อยํ วิปาโก ความว่า นั่นเป็นผล
แห่งกรรมอะไร คือ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า เอตํ เป็นเพียงนิบาต ก็อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เป็น
ผลของกรรมอะไรขอท่าน.
บทว่า จิกฺขลฺลมคฺเค แปลว่า ในทางมีโคลน. บทว่า นรกํ
ได้แก่ บ่อ. บทว่า เอกาหํ ตัดเป็น เอกํ อหํ. บทว่า นรกสฺมึ นิกฺขิปึ
ความว่า เราทอดศีรษะโค 1 ศีรษะ ในบ่อที่มีโคลนโดยประการที่
ผู้เดินจะไม่เหยียบเปือกตม. บทว่า ตสฺส ได้แก่ เอาศีรษะโค
ทำเป็นสะพานนั้น.
บทว่า ธมฺเม ฐิตานํ ได้แก่ ผู้ประพฤติเป็นธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ. บทว่า มนฺเตมิ ได้แก่ กล่าว คือ ระบุถึง. บทว่า
ขิฑฺฑตฺถิโก ได้แก่ ประสงค์จะหัวเราะเล่น. บทว่า โน จ ปทุฏฺฐจิตฺโต
ได้แก่ ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายเจ้าของผ้า อธิบายว่า ไม่มีความ
ประสงค์จะลัก ทั้งไม่ประสงค์จะทำให้เสียหาย.
บทว่า อกีฬมาโน ได้แก่ ไม่ประสงค์ คือ มีจิตคิดประทุษร้าย
เพราะความโลภเป็นต้น. บทว่า กึ ตสฺส กมฺมสฺส วิปากมาหุ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิบากทุกข์อันเผ็ดร้อนของกรรม
ชั่วนั้น คือที่ทำไว้อย่างนั้นไว้เพียงไร.
บทว่า ทุฏฺฐสงฺกปฺปมนา ได้แก่ ผู้มีวิตกทางใจอันประทุษร้าย
ด้วยอำนาจความดำริในกามเป็นต้น, ด้วยคำว่า ทุฏฺฐสงฺกปฺปมนา
นั้น ท่านกล่าวถึงมโนทุจริต. บทว่า กาเยน วาจาย จ สงฺกิลิฏฺฐา

ได้แก่ มีความเศร้าหมองด้วยกายและวาจา ด้วยอำนาจปาณาติบาต
เป็นต้น. บทว่า อาสมานา ได้แก่ หวัง คือ ปรารถนา.
เมื่อเปรตแสดงจำแนกกรรมและผลแห่งกรรมโดยสังเขป
อย่างนี้แล้ว พระราชาไม่ทรงเชื่อข้อนั้น จึงตรัสคาถาว่า :-
เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็น
ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือเราจะพึงเห็น
อย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำ
ให้เราเชื่อถือเรื่องนั้นได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ กินฺติ ชาเนยฺยมหํ อเวจฺจ
ความว่า เราจะพึงเชื่อโดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ถึงวิบากของกรรมดี
และกรรมชั่วที่เธอกล่าวจำแนกไว้โดยนัยมีอาทิว่า ต้นมีความ
ดำริชั่วย่อมเศร้าหมองด้วยกายและวาจา และโดยนัยมีอาทิว่า
ก็คนเหล่าอื่นย่อมปรารถนาสุคติ ดังนี้นั้นได้อย่างไร คือโดยเหตุไร.
บทว่า กึ วาหํ ทิสฺวา อภิสทฺทเหยฺยํ ความว่า เราเห็นอย่างไร
อันเป็นตัวอย่างที่ประจักษ์จะพึงเชื่อได้. บทว่า โก วาปิ มํ
สทฺทหาเปยฺย มํ
ความว่า หรือใครเป็นวิญญูชน คือ เป็นบัณฑิต
จะพึงให้เราเชื่อข้อนั้น ท่านจงแนะนำบุคคลนั้น.
เปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศเรื่องนั้นแก่พระราชานั้น
โดยเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วและได้สดับแล้ว ก็
จงเชื่อเถิดว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว

เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง ก็พึงมีสัตว์
ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก
นี้ ไม่พึงทำกรรมดีและกรรมชั่ว สัตว์ผู้ไปสู่
สุคติ ทุคติ อันเลวและประณีต ก็ไม่มีในมนุษย์
โลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก ทำ
กรรมดีและกรรมชั่วไว้ ฉะนั้น จึงไปสู่สุคติ ทุคติ
เลวบ้าง ประณีตบ้าง นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
วิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้นว่า เป็นที่ตั้งแห่งการ
เสวยสุขและทุกข์ เทวดาย่อมพากันห้อมล้อม
พวกชนผู้ได้เสวยผลอันเป็นสุข คนพาลผู้ไม่เห็น
บาปและบุญทั้งสอง ย่อมเดือดร้อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา จ แปลว่า ทั้งได้ทรงเห็น
โดยประจักษ์. บทว่า สุตฺวา ได้แก่ ทรงสดับธรรมแล้วทรงรู้ คือ
ทรงรู้ตามซึ่งนัยตามแนวแห่งธรรมนั้น. บทว่า กลฺยาณปาปสฺส
ความว่า จงทรงเชื่อเถิดว่า สุขนี้เป็นวิบากแห่งกุศลกรรม และ
ทุกข์นี้เป็นวิบากแห่งอกุศลกรรม. บทว่า อุภเย อสนฺเต ความว่า
เมื่อกรรมทั้งสอง คือ กรรมดีและกรรมชั่วมีอยู่. บทว่า สิยา นุ
สตฺตา สุคตา ทุคฺคตา วา
ความว่า เนื้อความดังนี้ว่า สัตว์เหล่านี้
ไปสุคติหรือทุคติ หรือว่า เป็นผู้มั่งคั่งในสุคติหรือเป็นผู้เข็ญใจ
ในทุคติ ดังนี้ จะพึงมีอยู่หรือ คือจะพึงเกิดได้อย่างไร.

บัดนี้ เปรตจะประกาศเนื้อความตามที่กล่าวแล้วโดยผิด
แผกกัน และโดยคล้อยตามกัน ด้วยคาถา 2 คาถาว่า โน เจตฺถ
กมฺมานิ และ ยสฺมา จ กมฺมานิ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
หีนา ปณีตา ได้แก่ ผู้เลวและหยิ่งโดยตระกูล รูปร่าง ความไม่มีโรค
และบริวารเป็นต้น.
บทว่า ทฺวยชฺช กมฺมานํ วิปากมาหุ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมกล่าวคือแสดงวิบากแห่งสุจริต และทุจริตแห่งกรรมทั้งสองอย่าง
ในวันนี้ คือ ในบัดนี้. เพื่อจะหลีกเสี่ยงคำถามว่า ข้อนั้น คืออะไร ?
จึงกล่าวว่า การเสวยสุขและทุกข์ อธิบายว่า ควรจะเสวยอิฏฐารมณ์
และอนิฏฐารมณ์. บทว่า ตา เทวตาโย ปริจารยนฺติ ความว่า เหล่าชน
ผู้ได้รับวิบากอันอำนวยสุขโดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเทพยดาใน
เทวโลก เปี่ยมด้วยทิพยสุขบำเรออินทรีย์ทั้งหลาย. บทว่า ปจฺเจนฺติ
พาลา ทฺวยตํ อปสฺสิโน
ความว่า ชนเหล่าใดเป็นคนพาลไม่เห็น
คือไม่เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมทั้งสอง ชนเหล่านั้นเป็นผู้ขวนขวาย
ในบาป เมือเสวยวิบากอันอำนวยความทุกข์ให้ ย่อมไหม้ คือ ย่อม
ได้รับทุกข์ เพราะกรรมในนรกเป็นต้น.
เปรตหมายเอาการย้อนถามว่า ก็ท่านเชื่อกรรมและผล
แห่งกรรมอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงเสวยทุกข์เห็นปานนี้ จึงกล่าว
คาถาว่า :-
กรรมที่ข้าพระองค์ทำไว้ในชาติก่อน ซึ่ง
เป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ในบัดนี้ มิได้

มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้จะให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม
ที่นอน ที่นั่ง ข้าว และน้ำแก่สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ข้าพระองค์
มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ปล่อย
กาย มีความเป็นผู้ฝืดเคือง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มตฺถิ กมฺมานิ สยํกตานิ ความว่า
เพราะเหตุที่บุญกรรมอันตนเองกระทำไว้ในกาลก่อน อันเป็นเหตุ
ให้ได้รับเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นในบัดนี้ ไม่ได้มีปรากฏแก่ข้าพระองค์.
บทว่า ทตฺวาปิ เม นตฺถิ โย อาทิเสยฺย ความว่า ผู้ใดพึงให้ทานแก่
สมณพราหมณ์แล้วพึงอุทิศส่วนบุญแก่ข้าพระองค์ว่า ขอบุญนี้จง
ถึงแก่เปรตโน้น ผู้นั้นย่อมไม่มี. บทว่า เตนมฺหิ นคฺโค กสิรา จ
วุตฺติ
ความว่า เพราะเหตุทั้งสองนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้เปลือยกาย
ไม่มีผ้าในบัดนี้ ทั้งมีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อหวังจะให้เปรตนั้นได้
เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
ดูก่อนยักษ์ เหตุอะไร ๆ ที่จะให้ท่านได้
เครื่องนุ่งห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุที่ควรเชื่อ พอ
จะฟังเป็นเหตุได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้น
แก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน ความว่า เหตุอะไร ๆ อัน
เป็นเหตุให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่ม พึงมีอยู่หรือหนอแล. บทว่า ยทตฺถิ

ตัดเป็น ยทิ อตฺถิ แปลว่า ถ้ามีอยู่.
ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะทูลบอกเหตุนั้นแก่พระราชา จึงได้
กล่าวคาถาว่า :-
ในนครเวสาลีนี้ ยังมีภิกษุรูปหนึ่ง นามว่า
กัปปิตกะ เป็นผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระ-
อรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว
สำรวมในพระปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอัน
สูงสุด มีวาจาน่าคบเป็นสหาย รู้ความประสงค์
ของผู้ขอ ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี
พูดจาโต้ตอบดี เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติ
อยู่ด้วยเมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดา
และมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตก ไม่มีทุกข์
ไม่มีตัณหา หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่
ถือเราถือเขา ไม่คดกาย วาจา ใจ ไม่มีอุปธิ
สิ้นกิเลสเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชชา 3
มีความรุ่งเรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะเป็น
ผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้ แม้ใคร ๆ เห็นก็ไม่รู้
ว่าเป็นคนดี ในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียก
ท่านว่า มุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ นัก
แน่นไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม เที่ยวไปใน
โลก ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่

แก่ภิกษุนั้น แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์
เมื่อพระองค์ทรงถวายแล้ว และท่านรับผ้านั้น
แล้ว พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์ผู้นุ่งห่ม
เรียบร้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กปฺปิตโก นาม เปรตกล่าว
หมายเอาพระอุปัชฌายะของท่านพระอุบาลีเถระภายในชฏิล 1,000
องค์. บทว่า อิธ ได้แก่ ในที่ใกล้นครเวสาลีนี้. บทว่า ฌายี ได้แก่
ผู้ได้ฌาน ด้วยฌานอันสัมปยุตต์ด้วยอรหัตตผล. บทว่า สีติภูโต ได้แก่
ผู้ถึงความเยือกเย็น ด้วยการเข้าไปสงบความกระวนกระวาย
และความเร่าร้อนแห่งกิเลสทั้งปวง. บทว่า อุตฺตมทิฏฺฐิปตฺโต
ได้แก่ ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิอันเป็นผลสูงสุด คือ อรหัตตผล.
บทว่า สขิโล แปลว่า ผู้มีวาจาอ่อนหวาน. บทว่า สุวโจ
แปลว่า ผู้ว่าง่าย. บทว่า สฺวาคโม แปลว่า ผู้มาดีไป . บทว่า
สุปฺปฏิมุตฺตโก แปลว่า ผู้มีวาจาหลุดพ้นด้วยดี อธิบายว่า ผู้มีปกติ
กล่าวหลุดพ้น. บทว่า อรณวิหารี แปลว่า ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา-
วิหารธรรม.
บทว่า สนฺโต แปลว่า ผู้สงบกิเลส บทว่า วิธูโม ได้แก่
ปราศจากควัน คือ มิจฉาวิตก. บทว่า อนีโฆ แปลว่า ผู้ไม่มีทุกข์.
บทว่า นิราโส แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า มุตฺโต แปลว่า
ผู้หลุดพ้นจากภพทั้งปวง. บทว่า วิสลฺโล แปลว่า ผู้ปราศจาก
ลูกศรมีราคะเป็นต้น. บทว่า อมโม แปลว่า ผู้ปราศจากการถือ

ว่าเราว่าเขา. บทว่า อวงฺโ ก ได้แก่ ผู้ปราศจากการคด มีคดกาย
เป็นต้น. บทว่า นิรูปธี แปลว่า ผู้ละอุปธิมีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง
เป็นต้น. บทว่า สพฺพปปญฺจขีโณ แปลว่า ผู้สิ้นธรรมเครื่องเนิ่นช้า
มีตัณหาเป็นต้น. บทว่า ชุติมา ได้แก่รุ่งเรืองด้วยญาณอัน
ยอดเยี่ยม. บทว่า อปฺปญฺญาโต ได้แก่ ชื่อว่าผู้ไม่ปรากฏเพราะ
เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะเป็นผู้ปกปิดคุณ.
บทว่า ทิสฺวาปิ น จ สุชาโน ความว่า แม้เห็นโดยความ
ลึกซึ้ง ก็ไม่เข้าใจได้ดีว่า มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา
อย่างนี้. บทว่า ชานนฺติ ตํ ยกฺขภูตา อเนชํ ความว่า ก็ท่านผู้
ประเสริฐ ย่อมรู้จักท่านผู้หนักแน่น คือผู้ปราศจากตัณหาว่า
เป็นพระอรหันต์. บทว่า กลฺยาณธมฺมํ ได้แก่ ผู้มีคุณมีศีลดีงาม
เป็นต้น.
บทว่า ตสฺส โยคว่า แก่ท่านพระกัปปิตกมหาเถระนั้น.
บทว่า เอกยุคํ ได้แก่ คู่ผ้าคู่หนึ่ง. บทว่า ทุเว วา ได้แก่ หรือว่า
คู่ผ้าสองคู่. บทว่า มมุทฺทิสิตฺวาน ได้แก่ อุทิศข้าพระองค์. บทว่า
ปฏิคฺคหีตานิ จ ตานิ อสฺสุ ความว่า และคู่ผ้าเหล่านั้นพึงเป็นของ
อันพระเถระนั้นรับแล้ว. บทว่า สนฺนทฺธทุสฺสํ ได้แก่ ผู้ทำการ
นุ่งห่มผ้า อธิบายว่า ได้ผ้าแล้ว คือนุ่งห่มผ้าแล้ว.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามถึงที่อยู่ของพระเถระว่า :-
บัดนี้ พระสมณะนั้นอยู่ประเทศไหน เรา
จักไปพบท่านได้ที่ไหน ใครจักพึงแก้ไขความ

สงสัยสนเท่ห์อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็น
ของเราได้ในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺมึ ปเทเส แปลว่า ในประเทศ
ไหน. บทว่า โย มชฺช ตัดเป็น โย อชฺช, ม อักษรทำการเชื่อมบท.
ลำดับนั้น เปรตจึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านอยู่ที่เมือง กปินัจจนา มีหมู่เทวดา
เป็นอันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนามจริงแท้ และเป็น
ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปินจฺจนายํ ได้แก่ ในประเทศ
อันได้โวหารว่า กปินัจจนา เพราะเป็นที่ฟ้อนรำของพวกลิง. บทว่า
สจฺจนาโม ได้แก่ ผู้มีนามตามเป็นจริง คือผู้มีนามไม่ผิดแผกด้วย
คุณนามมีอาทิว่า ผู้ได้ฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้
หลุดพ้น.
เมื่อเปรตกล่าวอย่างนั้น พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไป
ยังสำนักของพระเถระในขณะนั้นทีเดียว จึงตรัสคาถาว่า :-
เราจักไปทำตานที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้ จัก
ให้พระสมณะนั้นครองผ้า ขอท่านจงดูคู่ผ้า
เหล่านั้นอันพระสมณะนั้นรับประเคนแล้ว และ
เราจักคอยดูท่านนุ่งห่มผู้เป็นอันดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสามิ แปลว่า จักกระทำ.

ลำดับนั้น เปรตเมื่อจะแสดงว่า พระเถระย่อมแสดงธรรม
แก่เทพยดาทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหา
จึงกล่าวคาถาว่า :-
ข้าแต่พระเจ้าลิจฉวี ข้าพระองค์ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้า
หาบรรพชิตในเวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหา
บรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรมเนียม
ที่ดีของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็เมื่อพระองค์
เสด็จเข้าไปหาในเวลาอันสมควร ก็จักทรงเห็น
ภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่สงัด ในที่นั้นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า
ทูลขอร้อง. บทว่า โว ลิจฺฉวิ เนส ธมฺโม ความว่า ข้าแต่พระเจ้า
ลิจฉวี การเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาอันไม่สมควรนี้ ไม่เป็น
ธรรมเนียมของพระองค์ผู้เป็นพระราชา. บทว่า ตตฺเถว คือใน
ที่นั้นนั่นเอง.
เมื่อเปรตกล่าวอย่างนี้ พระราชาทรงรับคำแล้ว เสด็จไป
พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ให้คนถือคู่ผ้า 8 คู่ ในเวลาอันสมควร
อีก แล้วเข้าไปหาพระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรับคู่ผ้า
8 คู่นี้. พระเถระได้ฟังดังนั้น เพื่อจะสั่งสนทนาด้วย จึงทูลว่า ข้าแต่
มหาบพิตร เมื่อก่อนพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญทาน มีแต่จะเบียดเบียน

สมณพราหมณ์เท่านั้น มีพระประสงค์จะถวายผ้าอันประณีต
อย่างไรได้. พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกเหตุ
แก่ท่าน จึงได้ตรัสบอกถึงการที่เปรตมา และเรื่องที่เปรตกับ
พระองค์กล่าว แก่พระเถระ จึงได้ถวายผ้าแล้วอุทิศเปรต. ด้วย
เหตุนั้น เปรตจึงนุ่งห่มผ้าอันเป็นทิพย์ ประดับตกแต่ง ขึ้นม้า
ได้ปรากฏข้างหน้าพระเถระและพระราชา. พระราชาครั้นทรงเห็น
ดังนั้นแล้ว ทรงพอพระทัย เบิกบานพระหฤทัย เกิดปีติโสมนัส
ตรัสว่า เราเห็นผลแห่งกรรมโดยประจักษ์หนอ บัดนี้ เราจักไม่
กระทำความชั่ว จักกระทำแต่บุญเท่านั้น ดังนี้แล้ว ได้ทรงการทำ
สักขีพยานกับเปรตนั้น. และเปรตนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระเจ้า
ลิจฉวี ตั้งแต่วันนี้ ถ้าพระองค์ละอธรรม ประพฤติธรรมไซร้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จักเป็นสักขีพยานแก่พระองค์ และ
ข้าพระองค์จักมายังสำนักของพระองค์ และขอพระองค์จงให้บุรุษ
ผู้ที่ถูกหลาวเสียบ หลุดจากหลาวโดยเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น
ก็จักรอดชีวิต ประพฤติธรรมพ้นจากทุกข์ และพระองค์จงเข้าไป
หาพระเถระตามกาลอันควร ฟังธรรม บำเพ็ญบุญดังนี้แล้วก็ไป.
ลำดับนั้นพระราชาไหว้พระเถระแล้ว เข้าไปยังพระนคร
รีบให้ประชุมบริษัทลิจฉวี ให้คนเหล่านั้นอนุญาต ให้บุรุษนั้น
พ้นจากหลาว รับสั่งพวกพยาบาลว่า จงทำบุรุษนี้ ให้หายโรค.
ก็แล ครั้นเข้าไปหาพระเถระแล้ว จึงตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ผู้ที่ทำกรรมอันเป็นเหตุไปสู่นรกแล้ว ดำรงอยู่ จะพึงพ้นจากนรก

หรือไม่หนอ. พระเถระทูลว่า พึงพ้นได้ มหาบพิตร ถ้าผู้นั้นทำบุญ
ให้มากก็พ้นได้ จึงให้พระราชาตั้งอยู่ในสรณะและศีล. พระราชา
ตั้งอยู่ในสรณะและศีลนั้นแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระ. ได้
เป็นพระโสดาบัน. ฝ่ายบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบเป็นผู้หายโรค เกิด
ความสังเวช บวชในหมู่ภิกษุ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตต์.
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงได้กล่าวคาถา
ทั้งหลายว่า :-
พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็แวด
ล้อมไปด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จไปใน
พระนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังพระนครนั้นแล้ว
จึงเสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ในนิเวศน์ของ
พระองค์ ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ทรงสรงสนานและทรงดื่มน้ำแล้ว ได้เวลาอัน
สมควร จึงทรงเลือกผ้า 8 คู่จากหีบ รับสั่งให้
หมู่ข้าราชบริพารถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้า
ไปในประเทศนั้นแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็น
สมณะรูปหนึ่ง ผู้มีจิตสงบระงับกลับจากที่
โคจร เป็นผู้เยือกเย็น นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้น
ได้ตรัสถามสมณะนั้น ถึงความเป็นผู้มีอาพาธ
น้อย การอยู่สำราญ และตรัสบอกนามของ
พระองค์ให้ทรงทราบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน

เป็นกษัตริย์ลิจฉวี อยู่ในเมืองเวสาลี ชาวลิจฉวี
เรียกดิฉันว่า อัมพสักขระ ขอท่านจงรับผ้า 8 คู่
นี้ ของดิฉัน ดิฉันขอถวายท่าน ดิฉันมาในที่นี้
ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ ดิฉันมีความ
ปลาบปลื้มใจนัก.

พระเถระทูลถามว่า :-
สมณะพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้น
พระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร แต่ที่ไกลทีเดียว
เพราะพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร บาตรย่อม
แตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีกทำลาย เมื่อก่อน
สมณะทั้งหลาย มีศีรษะห้อยลง ตกลงไปจาก
เขียงเท้า มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิต
เช่นนี้ สมณะทั้งหลายเคยถูกมหาบพิตร ทำการ
เบียดเบียนแล้ว มหาบพิตร ไม่เคยพระราชทาน
แม้แต่น้ำมัน สักหยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทาง
ให้คนหลงทาง ชิงเอาไม้เท้าจากมือคนตาบอด
เสียเอง มหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวม
เช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไร มหาบพิตร ทรง
เป็นผลอะไร จึงทรงจำแนกแจกจ่ายกับอาตมภาพ
ทั้งหลายเล่า.

พระราชาตรัสว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันขอรับผิด ดิฉัน
ได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำที่ท่านพูด
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน มีความประสงค์จะล้อเล่น
ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านี้
ดิฉันทำแล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะน้อย
ได้สั่งสมบาป เพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์
ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์แก่ความเปลือยกาย
ย่อมมีแก่เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเห็น
เหตุอันน่าสังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงให้
ทาน เพราะเหตุนั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า
8 คู่นี้ ทักษิณาที่ดิฉันถวายนี้ จงสำเร็จผลแก่
เปรตนั้น.

พระเถระทูลว่า :-
เพราะการให้ทาน นักปราชญ์ทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญไว้โดยมากแท้
และเมื่อพระองค์ถวายทานวัตถุ จงอย่ามีความ
หมดเปลืองไปเป็นธรรม อาตมภาพรับผ้า 8 คู่
ของมหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จ
ผลแก่เปรตนั้น ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวี ทรง
ชำระพระหัตถ์ และพระบาทแล้ว ทรงถวายผ้า

8 คู่ แก่พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้า
เหล่านั้นแล้ว พระราชาทรงเห็นเปรต นุ่งห่มผ้า
เรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์แดง มีผิวพรรณ
เปล่งปลั่งประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย
มีบริวารห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา
ครั้นทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระหฤทัย
เกิดปีติปราโมทย์ มีพระหฤทัยร่าเริง เบิกบาน
พระเจ้าลิจฉวีได้ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่ง
กรรม แจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึง
เสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจัก
ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทาน
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ดูก่อนเปรต ท่านมี
อุปการะแก่เรามาก.

เปรตนั้นกราบทูลว่า :-
ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระ-
ราชทานแก่ข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง แต่การพระ-
ราชทานนั้น มิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา
จักทำความเป็นสหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์.

พระราชาตรัสว่า :-
ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว
เป็นมิตรและเป็นเทวดาของเรา ดูก่อนเปรต

เราขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่าน
แม้อีก.

เปรตกราบทูลว่า :-
ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความ
ตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส พระองค์จักไม่ได้เห็นข้า-
พระองค์และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็น ไม่ได้
เจรจากับพระองค์อีก ถ้าพระองค์จักทรงเคารพ
ธรรม ทรงยินดีในการบริจาคทาน ทรงสงเคราะห์
ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ด้วยอาการอย่างนี้ พระองค์ก็จักได้ทรงเห็น
ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ จักได้เห็น ได้เจรจา
กับพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้
จากหลาวโดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้
เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน ข้าพระองค์เข้าใจ
ว่า เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะ
เหตุแห่งบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษผู้ถูกหลาว
เสียบนี้ อันพระองค์ทรงรีบปล่อยแล้ว ถึงเป็นผู้
ประพฤติธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้น
แน่นอน พึงพ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
พระองค์เสด็จข้าไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง
จำแนกทานกะท่าน ในเวลาที่สมควร จงเสด็จ

เข้าไปหาแล้ว ตรัสถามด้วยพระองค์เอง ท่าน
จงกราบทูลเนื้อความนั้น แก่พระองค์ ก็พระองค์
ทรงพระประสงค์บุญ มีจิตไม่ประทุษร้าย ก็เชิญ
เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด ท่านจักแสดงธรรม
ทั้งปวง ที่ทรงสดับแล้ว และยังไม่ได้ทรงสดับ
แก่พระองค์ ตามความรู้เห็น พระองค์ได้ทรงฟัง
ธรรมนั้นแล้ว จักทรงเห็นสุคติ.
พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหาย
กับเทวดานั้นแล้ว เสด็จไป ส่วนเปรตนั้น ได้
กล่าวกะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย พร้อม
กับบุตรของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่งของเรา
เราจักเลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่จักเสียบ
ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง
ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย ประมาณ
20 ราตรีเท่านั้น เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตาม
ความชอบใจของเรา ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จง
รีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่ง
ให้ลงอาชญา โดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่าน ผู้
ทำกรรมอย่างนั้น ท่านรู้อย่างไร จึงทำอย่างนั้น
หมู่ท่านย่อมอนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวี

เสด็จเข้าไปสู่ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่
ถูกเสียบด้วยหลาว โดยเร็ว และได้ตรัสกะบุรุษ
นั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อน และรับสั่งให้หมอ
พยาบาล แล้วเสด็จไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง
ถวายทานกับท่านในเวลาอันสมควร มีพระ
ประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงเสด็จเข้าไปใกล้
แล้วตรัสถามด้วยพระองค์เองว่า บุรุษผู้ถูกเสียบ
ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง
ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อย จักตายหรือไม่ตาย ประ-
มาณ 20 ราตรีเท่านั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้
ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรตนั้น เหตุ
อะไร ๆ ที่จะไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึงมีหรือหนอ
ถ้ามีขอท่านโปรดบอกแก่ดิฉัน ดิฉันรอฟังเหตุ
ที่ควรเชื่อถือจากท่าน.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-
ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้น ย่อมไม่มี
ความพินาศในโลกนี้ เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้แจ้ง
ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรม
ทั้งหลาย โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้น
จากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้นจากการให้ผล
พึงมี.

พระราชาตรัสว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้มีปัญญากว้างขวาง
ประโยชน์ของบุรุษนี้ ดิฉันรู้ทั่วถึงแล้ว บัดนี้
ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าว
ตักเตือนพร่ำสอนดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉัน จะไม่พึง
ไปสู่นรกด้วยเถิด.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-
วันนี้ ขอมหาบพิตร จงมีพระหทัยเลื่อมใส
ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็น
สรณะ จงทรงสิกขาบท อย่าให้ขาดและด่าง-
พร้อย จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรง
พูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทาน
อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการอัน
ประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรงพระ-
ราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอนและที่นั่ง คิลาน-
ปัจจัย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของกิน ผ้า เสนาสนะ
ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญทุก
เมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าว
และน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคลเป็นผู้

ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพ ตลอดคืน
และวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้น
จากการให้ผลพึงมี.

พระราชาตรัสว่า :-
วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระ-
พุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอสมาทานสิกขาบท 5 ประการ ไม่ให้ขาด
ไม่ให้ด่างพร้อย ของดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก-
ทรัพย์ ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่กล่าวคำเท็จ
ไม่ดื่มน้ำเมา และจักสมาทานอุโบสถศีล อัน
ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ อันประเสริฐเป็น
กุศล มีสุขเป็นกำไร จักถวายจีวร บิณฑบาต
ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าวน้ำ ของเคี้ยว
ของกิน ผ้าและเสนาสนะ แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต
จักไม่กำหนัด ยินดีแล้วในศาสนา ของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย. พระเจ้าลิจฉวี ทรงพระนาม
ว่า อัมพสักขระ ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่ง ในเมือง
เวสาลี ทรงมีศรัทธา มีพระหทัยอ่อนโยน ทรง
ทำอุปการะแก่ภิกษุ ทรงบำรุงสงฆ์ โดยความ
เคารพ ในกาลนั้น บุรุษผู้ถูกเสียบด้วยหลาว

หายโรค เป็นสุขสบายดี เข้าถึงบรรพชา แม้ชน
ทั้งสองอาศัยกัปปิตกภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุ
สามัญญผล การคบหาสัปบุรุษเช่นนี้ ย่อมมีผล
มากตั้งร้อย แก่วิญญูชนผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบ
ด้วยหลาว ได้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้า
อัมพสักขระ ได้บรรลุโสดาปัตติผล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสูปคจฺฉิตฺถ แปลว่า เข้าไปยัง
ที่ประทับ. บทว่า คิหิกิจฺจานิ ได้แก่ กิจแห่งขุมทรัพย์ที่ผู้ครองเรือน
พึงกระทำ. บทว่า วิเจยฺย ได้แก่ พึงเลือกถือเอาผ้าดี ๆ. บทว่า
ปฏิกฺกนฺตํ แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
กลับจากโคจร. บทว่า อโวจ ความว่า ได้ตรัสคำมีอาทิว่า ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเจ้าลิจฉวีในเมืองเวสาลี.
บทว่า วิทาลยนฺติ แปลว่า ย่อมฉีกทำลาย. บทว่า
ปาทกุฐาริกาหิ ได้แก่ จากเขียง คือเท้า. บทว่า ปาตยนฺติ แปลว่า
ย่อมตกลง.
บทว่า ติเณน แปลว่า แม้ด้วยปลายหญ้า. บทว่า มูฬฺหสฺส
มคฺคมฺปิ น ปาวทาสิ
ความว่า พระองค์ไม่ได้บอกแม้ทางแก่คน
หลงทางว่า ด้วยคิดว่า บุรุษนี้จงวนเวียนไปทางโน้นทางนี้ ด้วยอาการ
อย่างนี้. จริงอยู่ พระราชานี้เป็นผู้มักล้อเล่น. บทว่า สยมาทิยาสิ
ความว่า ตนเองชิงเอาไม้เท้าจากมือของคนตาบอด. บทว่า สํวิภาคํ
กโรสิ
ความว่า ทรงแบ่งส่วนหนึ่งจากวัตถุที่ตนบริโภคให้ไป.

ด้วยบทว่า ปจฺเจมิ ภนฺเต ยํ ตฺวํ วเทสิ นี้ พระราชาทรง
แสดงว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันรู้เฉพาะคำที่ท่านกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า
บาตรแตก สิ่งนั้นทั้งหมดนั่นแหละ ดิฉันทำและให้ผู้อื่นทำ. บทว่า
เอตมฺปิ ได้แก่ สิ่งนี้ดิฉันแม้ทำก็โดยประสงค์จะล้อเล่น.
บทว่า ขิฑฺฑา แปลว่า ด้วยการล้อเล่น. บทว่า ปสวิตฺวา
แปลว่า ก่อแล้ว. บทว่า เวเทติ แปลว่า ย่อมเสวย. บทว่า
อสมตฺตโภคี แปลว่า ผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์. เพื่อจะแสดงว่า เปรต
เป็นผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์นั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า เด็กหนุ่ม เป็นต้น.
บทว่า นคฺคนิยสฺส แปลว่า เป็นคนเปลือย. บทว่า กึ สุ ตโต
ทุกฺขตรสฺส โหติ
ความว่า ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์กว่าความ
เป็นคนเปลือยของเปรตนั้น. บทว่า ยกฺขสฺสิมา คจฺฉนฺตุ ทกฺขิณาโย
ความว่า ขอทักษิณา คือผ้าที่ดิฉันให้นี้ จงสำเร็จแก่เปรต.
บทว่า พหุธา ปสตฺถํ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น พรรณนาไว้โดยประการมากมาย. บทว่า
อกฺขยธมฺมมตฺถุ แปลว่า ขอทานวัตถุนี้ จงอย่าสิ้นไปเป็นธรรม.
บทว่า อาจมยิตฺวา ได้แก่ บ้วนปากก่อนล้างมือและล้างเท้า.
บทว่า จนฺทนสารลิตฺตํ แปลว่า ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์. บทว่า
อุฬารวณฺณํ แปลว่า มีรูปอันประเสริฐ. บทว่า ปวาริตํ แปลว่า
แวดล้อมด้วยบริพารผู้มีความประพฤติคล้อยตาม. บทว่า ยกฺข-
มหิทฺธิปตฺตํ
ได้แก่ ผู้มียักขฤทธิ คือเทพฤทธิ์ใหญ่. บทว่า ตเมนนโวจ
ตัดเป็น ตเมนํ อโวจ ได้ตรัสคำนี้นั้น.

ด้วยบทว่า เอกเทสํ อทาสิ ท่านกล่าวหมายถึงการให้ผ้า
อันเป็นส่วนหนึ่งในบรรดาปัจจัย 4. บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความ
เป็นพยาน.
บทว่า มมาสิ ตัดเป็น เม อาสิ. บทว่า เทวตา เม มีวาจา
ประกอบความว่า ท่านได้เป็นเทวดาของเรา.
บทว่า วิปฺปฎิปนฺนจิตฺโต ได้แก่ มีจิตดำเนินตามมิจฉาทิฏฐิ
อธิบายว่า ผู้ละปฏิปทาอันชอบธรรม แล้วดำเนินปฏิปทาอันไม่
ชอบธรรม. บทว่า ยโตนิทานํ ได้แก่ มีสิ่งใดเป็นนิมิต คือ มายัง
สำนักของผู้ใดเป็นเหตุ.
บทว่า สํวิภชิตฺวา แปลว่า ทำการจำแนกทาน. บทว่า
สยํ มุเขนูปนิสชฺช ปุจฺฉ ความว่า ท่านจงอย่าส่งคนอื่นไป จงเข้า
ไปนั่งถามเฉพาะหน้าเลย.
บทว่า สนฺนิสินฺนํ แปลว่า นั่งประชุมกัน. บทว่า ลภิสฺสามิ
อตฺถํ
ความว่า เราจักได้ประโยชน์แม้ที่เราปรารถนา. บทว่า
ปณิหิตทณฺโฑ แปลว่า ได้ตั้งอาญาในตัวไว้. บทว่า อนุสตฺตรูโป
ได้แก่ มีสภาวะเกี่ยวข้องในราชา. บทว่า วีสติรตฺติมตฺตา ความว่า
ล่วงไปประมาณ 20 ราตรี. บทว่า ตาหํ ตัดเป็น ตํ อหํ. บทว่า
ยถามตึ แปลว่า ตามความชอบใจของเรา.
บทว่า เอตญฺจ อญฺญญฺจ ความว่า บุรุษนี้ที่ถูกเสียบหลาว
และบุรุษอื่นที่ถูกลงราชอาชญา. บทว่า ลหุํ ปมุญฺจ แปลว่า ปล่อย
โดยเร็ว. บทว่า โก ตํ วเทถ ตถา กโรนฺตํ ความว่า ใครใน

แคว้นวัชชีนี้พึงบอกผู้ทำกรรมอันชอบธรรมนั้นว่า จงอย่าปล่อย
อธิบายว่า ถึงใคร ๆ ก็ไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า ติกิจฺฉกานญฺจ ได้แก่ ผู้เยียวยา.
บทว่า ยกฺขสฺส วโจ ได้แก่ คำของเปรต, ท่านแสดงว่า
ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้กระทำอย่างนั้น ตามคำของเปรตนั้น.
บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ ธรรมคือบุญอันสามารถครอบงำ
กรรมชั่วที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน บทว่า กมฺมํ สิยา อญฺญตฺร
เวทนียํ
ได้แก่ กรรมที่อำนวยผลให้เกิดในกรรมชั่วนั้น ชื่อว่า เป็น
อโหสิกรรม ส่วนกรรมที่อำนวยผลให้เกิดในภพต่อ ๆ ไป ย่อม
เป็นผลที่จะพึงเสวยในภพอื่น คือ ภพต่อ ๆ ไป ในเมื่อยังเป็นไป
ในสังสารวัฏ.
บทว่า อิมญฺจ พระเถระกล่าวเพราะกระทำอธิบายว่า คำ
ที่ตนกล่าว ใกล้หรือประจักษ์แก่สิกขานั้น. บทว่า อริยํ อฏฺฐงฺคว-
เรนุเปตํ
ความว่า อุโบสถศีลอันสูงสุดอันเข้าถึง คือประกอบด้วย
องค์ 8 มีเจตนาอันงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ
เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์. บทว่า กุสลํ ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า
สุขุทฺริยํ แปลว่า มีสุขเป็นผล.
บทว่า สทา ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ ความว่า เมื่อบุคคลทำบุญ
คราวเดียวแล้วไม่อิ่มใจว่า พอละด้วยบุญเพียงเท่านี้ แล้วจึงบำเพ็ญ
สุจริตต่อ ๆ ไป บุญของเขา ย่อมเจริญยิ่งตลอดกาล หรือเมื่อเขา

บำเพ็ญสุจริตต่อ ๆ มา ผลบุญ คือ บุญย่อมเจริญ คือ เต็มเปี่ยม
ยิ่ง ๆ ขึ้น.
เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้ พระราชามีพระหทัยสะดุ้งจาก
ทุกข์ ในอบาย มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และบุญธรรม
เจริญยิ่ง ต่อแต่นั้น จึงสมาทาน สรณะและศีล จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ดิฉัน ขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะในวันนี้แหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ได้แก่ มีรูปตามที่กล่าว
แล้วนี้. บทว่า เวสาลิยํ อญฺญตโร อุปาสโก ความว่า เป็นอุบาสก
คนหนึ่ง ในบรรดาอุบาสกหลายพันคนในเมืองเวสาลี. บทว่า สทฺโธ
เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็น
โดยประการอื่นจากภาวะที่มีในก่อน เพราะอาศัยกัลยาณมิตร. จริงอยู่
ในกาลก่อน พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคน
หยาบช้า ด่าภิกษุทั้งหลาย และไม่ใช่เป็นอุปัฏฐากของสงฆ์ แต่บัดนี้
เป็นผู้มีศรัทธาอ่อนโยน และอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ในกาลนั้น โดย
เคารพ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การกโร ได้แก่ผู้กระทำอุปการะ.
บทว่า อุโภปิ ได้แก่ ชนทั้ง 2 คน คือ บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ
และพระราชา. บทว่า สามญฺญผลานิ อชฺฌคุํ ได้แก่ ผู้บรรลุ
สามัญญผลตามสมควร. เพื่อจะแสดงตามสมควร. ท่านจึงกล่าวคำนี้
ไว้ว่า บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ได้บรรลุพระอรหัตตผล ส่วนพระเจ้า
อัมพสักขระ ได้บรรลุผลน้อยกว่า. ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย

บทว่า ผลํ กนิฏฐํ ท่านกล่าวหมายถึงโสดาปัตติผล แต่ในที่นี้ เมื่อ
ว่าโดยอรรถ คำที่ท่านไม่ได้จำแนกไว้ รู้ได้ง่ายทีเดียว.
ท่านพระกัปปิตก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถี เพื่อถวายบังคม
พระศาสดา จึงได้กราบทูลความที่พระราชา เปรต และตน กล่าว
แล้วอย่างนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดา ทรงกระทำ
เรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึง
พร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ 1

2. เสรีสกเปตวัตถุ



[122] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำเจรจาของเทวดา และ
พวกพ่อค้า ฯลฯ
(พึงดูในเรื่องที่ 10 แห่งสุนิกขิตตวรรคที่ 7 ในวิมานวัตถุ)
จบ เสริสสกเปตวัตถุที่ 2

อรรถกถาเสรีสกเปตวัตถุที่ 2



เรื่องเสรีสกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้น สุโณถ ยกฺขสฺส วาณิชามญฺจ
ดังนี้. เพราะเหตุที่เรื่องนั้น ไม่พิเศษไปกว่าเรื่องเสรีสกวิมาน
ฉะนั้น คำที่ควรจะกล่าวในอัตถุปปัตติเหตุ และในคาถานั้น พระ-
อรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อ
ปรมัตถทีปนี ฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถา
วิมานวัตถุนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเสรีสกเปตวัตถุที่ 2